
แก้ปัญหาด้านไอทีด้วยแพลตฟอร์มแบบ low-code
การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ อาจไม่รวดเร็วพอในปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วของการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ จุดติดขัดของการพัฒนาที่พบได้บ่อยๆ สำหรับหลายองค์กรต่างๆ คือระยะเวลารอคอยที่ยาวนานซึ่งจำเป็นสำหรับการค้นคว้า การเขียน และการทดสอบโค้ดใหม่ การขาดแคลนบุคลากรด้านการพัฒนาทั่วโลกทำให้เกิดปัญหานี้ ความท้าทายอื่นๆ อย่างระบบข้อมูลแบบเดิมๆ ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกัน รวมไปถึง Shadow IT และหนี้ทางเทคนิค สามารถลดประสิทธิภาพการทำงานด้านไอทีได้อีก
องค์กรต่างๆ ที่ต้องการเปิดใช้งานระบบอัตโนมัติ, API, การรวมข้อมูล และโซลูชันอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาสำหรับความท้าทายเหล่านี้แล้ว นั่นคือ แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code
แพลตฟอร์มแบบ low-code จะขับเคลื่อนการพัฒนาให้ก้าวหน้าผ่านการดำเนินการที่รวดเร็วขึ้นและลดการพึ่งพาผู้มีความสามารถด้านการเขียนโค้ดระดับมืออาชีพ ได้รับการออกแบบให้รวมเข้ากับแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่แล้วได้หลากหลายแพลตฟอร์ม แพลตฟอร์มแบบ low-code สามารถรวมการดำเนินงานเข้าด้วยกันภายในสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่ซับซ้อน
แพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบ low-code คืออะไร
แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน แบบ low-code ใช้ชุดคำสั่งสำเร็จรูปในอินเทอร์เฟซการแสดงผลด้วยภาพแบบลากแล้ววางเพื่อ สร้างแอป ทำให้กระบวนการและเวิร์กโฟลว์เป็นอัตโนมัติ สร้างเว็บไซต์ และเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลต่างๆ การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ low-code เป็นวิธีการที่ช่วยเร่งการพัฒนาแอปพร้อมๆ กับลดความจำเป็นในการเขียนโค้ดแบบเดิมๆ ผู้ใช้ต้องการเพียงความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาแอปด้วยวิธีนี้ ซึ่งหมายความว่า ทุกคนในทีมไอทีรวมถึงนักพัฒนาพลเมืองหรือพนักงานที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมระดับมืออาชีพหรือมีพื้นฐานทางเทคนิคมากมายนัก ก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code นั้นสามารถปรับแต่งได้และซับซ้อนกว่าแพลตฟอร์มแบบไม่ใช้โค้ด (no-code) ซึ่งไม่ต้องอาศัยความสามารถในการเขียนโค้ดเลย แพลตฟอร์ม แบบ low-code และแบบ no-code ทั้งสองแพลตฟอร์มทำให้การพัฒนาแอปง่ายและรวดเร็วขึ้น
ประโยชน์ของแพลตฟอร์มแบบ low-code
แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code ส่วนใหญ่มีข้อดีหลักๆ ที่เหมือนกัน ได้แก่
- ดีไซน์แบบลากแล้ววาง ประสบการณ์ผู้ใช้ที่มีการแสดงผลด้วยภาพและมีการใช้งานที่ง่ายของแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านเทคนิค และทำให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่าแอปจะทำงานอย่างไรในขณะที่กำลังถูกสร้าง
- ความเร็ว การสร้างแอปด้วยแพลตฟอร์มแบบ low-code นั้นเร็วกว่าการพัฒนาแบบเดิมมาก เนื่องจากคุณเริ่มต้นด้วยบล็อคส่วนประกอบที่มีเทมเพลต นอกจากนี้ คุณไม่จำเป็นต้องมีทักษะการเขียนโค้ดแบบมืออาชีพเพื่อใช้แพลตฟอร์มแบบ low-code แต่อย่างใด ดังนั้น คุณจึงไม่ต้องรอให้นักพัฒนามาทำการสร้าง
- ความสามารถในการขยาย การผสานรวมโดยตรงผ่าน API และตัวเชื่อมต่อข้อมูลทำให้ทีมไอทีสามารถสร้างระบบอัตโนมัติที่ใช้ซ้ำได้ทั่วทั้งแพลตฟอร์ม
- เทมเพลตโค้ด แพลตฟอร์มแบบ low-code จำนวนมากมาพร้อมกับการดำเนินการที่มีเทมเพลตในตัวเพื่อการปรับใช้ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
- การสร้างต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ การทดสอบเป็นองค์ประกอบสำคัญของการปรับใช้ที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าโครงการจะได้รับการพัฒนาโดยใช้วิธีการแบบ no-code แบบ low-code หรือเขียนโค้ดด้วยมือทั้งหมดก็ตาม แพลตฟอร์มแบบ low-code ส่วนใหญ่จะมีเครื่องมือสร้างต้นแบบที่ช่วยปรับปรุงขั้นตอนนี้
- การกำกับดูที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น กระบวนการสร้างแอปแบบครั้งเดียวนั้นจัดการได้ยาก การสร้างแอปธุรกิจทั้งหมดจากตำแหน่งส่วนกลาง เช่น แพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบ low-code ช่วยให้ทีมไอทีสามารถควบคุมแต่ละโครงการได้ดีขึ้น
- เครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การประความสำเร็จในการปรับใช้งานโปรเจ็กต์แบบ low-code หลายแพลตฟอร์มมาพร้อมกับการติดตามแบบเรียลไทม์ การส่งข้อความ การทดสอบ และเครื่องมือการปรับใช้งานที่ปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ระหว่างทีมไอทีและทีมธุรกิจให้ดีขึ้น

ความท้าทายด้านไอที 6 ข้อที่พบได้บ่อย ซึ่งแก้ไขได้ด้วยแพลตฟอร์มแบบ low-code
แพลตฟอร์มแบบ low-code ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น ใช้เงินน้อยลง และปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างทีมต่างๆ ในองค์กร ตลอดจนระหว่างชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน สิ่งนี้ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายด้านไอทีที่สำคัญที่สุด 6 ข้อ ที่องค์กรต่างๆ เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่
- การขาดแคลนพนักงาน Bureau of Labor Statistics (สำนักสถิติแรงงาน) คาดการณ์ว่าความต้องการนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเร็วกว่าค่าเฉลี่ยมากในช่วง 10 ปีข้างหน้า ส่งผลให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนเกือบ 1.2 ล้านคนภายในปี 20261 การพัฒนาแบบ low-code จะช่วยให้นักพัฒนามือใหม่ นักพัฒนาพลเมือง และพนักงานคนอื่นๆ สามารถพัฒนาโซลูชันทางเทคโนโลยีได้
- ปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิผล หนี้ด้านเทคนิค หรือเวลาที่ใช้ไปกับการแก้ไขซอฟต์แวร์ที่เปิดใช้งานโดยมีข้อบกพร่องต่างๆ อาจเป็นภาระสำคัญสำหรับทีมไอทีที่มีงานยุ่งล้นมืออยู่แล้ว เมื่อธุรกิจต้องการปรับปรุงความสามารถของแผนกไอทีในการส่งมอบงาน หนี้ทางเทคนิคจะก่อตัวขึ้นและลดความสามารถของทีมไอทีลงอีก โซลูชันแบบ low-code ที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจและการพัฒนาจะช่วยลดความจำเป็นในการแก้ไขโซลูชันต่างๆ โครงการเหล่านี้ดำเนินการได้เร็วกว่าโครงการพัฒนาแบบเดิม ช่วยประหยัดเวลาในการวางแนวคิดและการทดสอบเพื่อลดการแก้ไขในอนาคต แพลตฟอร์มแบบ low-code ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยช่วยให้ทีมไอทีสร้างระบบอัตโนมัติที่ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นระบบดิจิทัล
- ระยะเวลารอคอยนาน ธุรกิจต่างๆ ต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ โครงการที่ใช้การเขียนโค้ดแบบ low-code จะทำงานได้เร็วกว่าแอปพลิเคชันที่ใช้โค้ดแบบเดิมมาก โดยไม่จำเป็นต้องจ้างนักพัฒนาที่มีทักษะสูงจากภายนอก การรักษาโครงการที่ละเอียดอ่อนไว้ในองค์กรช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้วย
- วัฒนธรรม Shadow IT การไม่อดทนต่อเวลารอคอยของฝ่ายไอทีทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Shadow IT ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้นำธุรกิจพยายามแก้ไขปัญหาด้านไอทีเพื่อพัฒนาโซลูชันของตนเอง การรุดหน้าที่รวดเร็วขึ้นของการสร้างการพัฒนาแบบ low-code สามารถฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้ใช้ธุรกิจว่าทีมไอทีสามารถส่งมอบงานตามกำหนดเวลาที่ต้องการได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ธุรกิจที่มีพื้นฐานด้านการเขียนโค้ดมาบ้างสามารถมีบทบาทมากขึ้นในการสร้างโซลูชัน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างการทำงานร่วมกัน
- ค่าใช้จ่ายสูง แพลตฟอร์มแบบ low-code มีราคาถูกกว่าการจ้างนักพัฒนาหรือบุคลากรภายนอกอื่นๆ เพิ่ม แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังสามารถประหยัดเงินได้ด้วยการเสริมศักยภาพให้กับนักพัฒนามือใหม่และผู้ที่ไม่ใช่นักพัฒนาเพื่อสร้างผลกระทบทางธุรกิจที่ใหญ่กว่าที่พวกเขาจะทำได้
- ข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตอย่างทวีคูณในด้านปริมาณและแหล่งข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมาและถูกนำเข้าระบบขององค์กร การจัดระเบียบและเชื่อมต่อข้อมูลนั้นอย่างมีความหมายถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับหลายๆ องค์กร เครื่องมือการพัฒนาแบบ low-code สามารถช่วยเติมเต็มช่องว่างระหว่างระบบและคนได้ ทำให้ข้อมูลใช้งานได้และเป็นการสร้างข้อมูลเชิงลึกและการดำเนินการที่สามารถมีผลกระทบทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
วิธีเลือกแพลตฟอร์มแบบ low-code ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณ
ก่อนเข้าสู่การสาธิตและการทดลองใช้ฟรี อันดับแรก ให้ทำรายการของกรณีการใช้งานจริง ตามหลักการแล้ว รายการนี้จะประกอบด้วยการผสมผสานระหว่างแอปที่โต้ตอบกับลูกค้าและแอปภายใน โซลูชันที่เรียบง่ายและซับซ้อนมากขึ้น และโครงการที่สำคัญๆ และ "ควรมี" รายการที่มีความหลากหลายจะทำให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบความสามารถของตัวเลือกแพลตฟอร์มแบบ low-code แต่ละตัวเลือก
ขณะที่คุณประเมินโซลูชันการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ low-code ที่มีศักยภาพ ให้มองหาคุณลักษณะเหล่านี้:
- การรักษาความปลอดภัย หากคุณวางแผนที่จะพัฒนาทั้งแอป B2C และแอป B2B ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มที่คุณประเมินเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์กรสำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม โซลูชันแบบ low-code จำนวนมากมีเครื่องมือกำกับดูแลและตรวจสอบในตัว แพลตฟอร์มที่ให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลประจำตัว การเข้ารหัสที่ปลอดภัย และการจัดการสิทธิ์ของผู้ใช้จะทำให้การควบคุมเวิร์กโฟลว์และการเปิดเผยข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น
- ตัวเลือกในการผสานรวม องค์กรส่วนใหญ่ต้องจัดการข้อมูลภายในและภายนอกของทีมและระบบต่างๆ จำนวนมาก แพลตฟอร์มแบบ low-code แพลตฟอร์มใหม่ของคุณจะมีประโยชน์มากขึ้นหากสามารถรวมเข้ากับระบบทั้งหมดของคุณได้ ให้พิจารณาประสบการณ์ของผู้ใช้ด้วย ผู้ใช้จะต้องสามารถค้นหาและใช้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ง่ายๆ
- ความสามารถข้ามแพลตฟอร์ม ลูกค้าและพนักงานของคุณใช้แพลตฟอร์มใดมากที่สุด การพัฒนาแอปหนึ่งแอปที่สามารถปรับใช้กับหลายแพลตฟอร์มนั้นง่ายเพียงใด โซลูชันแบบ low-code ของคุณจะต้องเข้ากันได้กับอุปกรณ์และแพลตฟอร์มทั้งหมดของผู้ใช้
- การแจ้งเตือน เลือกแพลตฟอร์มที่มีบริการแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีนี้ ทีมไอทีของคุณจะได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับปัญหาทุกอย่างที่เกี่ยวกับแอปของคุณโดยเร็วที่สุด
- อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย ยิ่งซับซ้อนน้อยยิ่งดี มองหาฟังก์ชันลากแล้ววางและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้งานง่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทั้งนักพัฒนาซอฟต์แวร์และผู้ใช้ธุรกิจมีโอกาสทดสอบการใช้งานในขณะที่คุณประเมินโซลูชัน สิ่งที่ง่ายสำหรับนักพัฒนาอาจไม่ง่ายนักสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเขียนโค้ด
- เครื่องมือพัฒนาแบบกำหนดเอง การใช้แพลตฟอร์มแบบ low-code ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือ การให้นักพัฒนาสามารถเริ่มต้นโครงการที่ซับซ้อนที่ต้องใช้การเขียนโค้ดด้วยมือได้ล่วงหน้า เพื่อสิ่งนั้น คุณจะต้องมีความยืดหยุ่นในการรวมโค้ดแบบกำหนดเองที่สร้างจากโซลูชันที่มีเทมเพลตของแพลตฟอร์ม
- ความสามารถในการปรับขนาด พิจารณาแนวทางการเติบโตขององค์กรคุณ คุณคาดว่าจะเพิ่มผู้ใช้ใหม่ในภายหลังหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มที่คุณเลือกสามารถปรับขนาดไปพร้อมๆ กับจำนวนพนักงานของคุณได้
วิธีการรวมแพลตฟอร์มแบบ low-code ไว้ในกระบวนการที่มีอยู่แล้วของคุณ
การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ low-code เป็นวิธีการที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับกระบวนการมาตรฐานขององค์กรส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ คุณอาจต้องทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ กับวิธีการทำงานของทีมไอทีของคุณ เมื่อคุณได้รับแพลตฟอร์มการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ low-code ที่ตรงตามความต้องการของคุณแล้ว ให้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเหล่านี้เพื่อผสานรวมเข้ากับกลุ่มเทคโนโลยีที่คุณมีอยู่
- ประเมินระบบที่มีอยู่แล้ว บางทีแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code แพลตฟอร์มใหม่ของคุณอาจจะสามารถแทนที่ระบบอื่นที่คุณมีอยู่ได้ หรืออาจมีการอัปเกรดที่คุณต้องการทำแต่ยังไม่ได้ทำ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะทำการปรับปรุงทั่วทั้งระบบเพื่อให้กระบวนการพัฒนาที่ได้รับการปรับปรุงของคุณเริ่มต้นอย่างถูกต้อง
- นำเอาแนวทางการพัฒนาแบบใหม่มาใช้ แพลตฟอร์มแบบ low-code ทำให้การพัฒนาแอปเข้าถึงได้สำหรับพนักงานที่ไม่ใช่ทีมไอที ทั้งนี้ ในกรณีที่จำเป็น ทีมไอทีต้องคอยควบคุมกระบวนการพัฒนาด้วยระบบป้องกัน บทบาท ความรับผิดชอบ และขั้นตอนใหม่ บางองค์กรอาจต้องใช้แนวทางวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกันเพื่อให้ตรงกับความเร็วและความคล่องตัวของการพัฒนาแบบ low-code
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลของคุณมีความพร้อม ยืนยันว่ากระบวนการยึดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการจัดการข้อมูลของคุณมีความเหมาะสมกับแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code ของคุณ
- แต่งตั้งผู้ดูแลระบบประจำแพลตฟอร์ม ระบุผู้ใช้ และจัดทำการฝึกอบรม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่จะใช้แพลตฟอร์มได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสมทั้งในเรื่องของตัวเครื่องมือเองและกระบวนการภายในสำหรับการคิด สร้าง ทดสอบ และอนุมัติแอป
- ออกแบบการตั้งค่า สร้างกระบวนการตรวจสอบสิทธิ์ที่จำเป็นทั้งหมด การตั้งค่าการรักษาความปลอดภัย และการผสานการทำงาน
- ดำเนินการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการตั้งค่าของคุณตรงตามข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยขององค์กรทั้งหมดแล้ว
- ให้สิทธิ์การใช้งาน อนุมัติสิทธิ์ให้กับนักพัฒนาและผู้ใช้ธุรกิจที่จะสร้างแอปโดยใช้โซลูชันใหม่นี้
- เริ่มต้นด้วยโซลูชันสำเร็จรูป แพลตฟอร์มแบบ low-code มาพร้อมกับส่วนประกอบที่สร้างสำเร็จในตัว เช่น เวิร์กโฟลว์ รายงาน การกำหนดหมายงาน และแดชบอร์ด ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ในขณะที่วางแผนสำหรับโครงการที่ปรับแต่งได้มากขึ้น
สำรวจแพลตฟอร์มแบบ low-code จาก Microsoft
ค้นหาว่า Microsoft Power Apps สามารถลดต้นทุนในการพัฒนาและลดเวลาในการสร้าง และเพิ่มศักยภาพให้พนักงานของคุณมากขึ้นในการแก้ปัญหาด้วยการสร้างแอปธุรกิจได้อย่างไร
คำถามที่พบบ่อย
ทำไมแพลตฟอร์มแบบ low-code ถึงเป็นแพลตฟอร์มแห่งอนาคต
การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ low-code เป็นการทำให้กระบวนการสร้างแอปแบบเดิมๆ ง่ายขึ้น องค์กรต่างๆ ที่ต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของลูกค้าพบว่าการบรรลุเป้าหมายของพวกเขาง่ายขึ้นด้วยแพลตฟอร์มแบบ low-code
แพลตฟอร์มแบบ low-code ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง
สำหรับองค์กรต่างๆ แพลตฟอร์มแบบ low-code สามารถแก้ไขปัญหาทั่วๆ ไปได้หลายอย่าง ช่วยให้นักพัฒนาพลเมืองมีส่วนร่วมในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล และช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าการเขียนโค้ดแบบเดิมๆ แพลตฟอร์มเหล่านี้ลดการพึ่งพาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมในเวลาที่ค่าจ้างของบุคลากรเหล่านั้นมีราคาสูง องค์กรใดก็ตามที่ต้องการเติบโตไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถใช้ประโยชน์จากโซลูชันการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ low-code ได้
แพลตฟอร์มแบบ low-code ใช้ทำอะไร
องค์กรต่างๆ สามารถใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code เพื่อ:
- ปรับปรุงหรือเพิ่มคุณลักษณะใหม่ให้กับแอปที่มีอยู่
- แทนที่แอปธุรกิจที่ล้าสมัย
- ทำให้งานด้านการดูแลระบบที่ต้องใช้แรงงานคนเป็นไปโดยอัตโนมัติ
- ติดตามหรือจัดกำหนดกระบวนการที่เกิดซ้ำ
- รวบรวม จัดการ และเชื่อมต่อข้อมูล
- ดึงดูดลูกค้าด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้งานง่าย
- เสริมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
- ปรับปรุงการทำงานร่วมกันและความสามัคคีระหว่างทีมงานฝ่ายไอทีและทีมธุรกิจ
- เพิ่มศักยภาพให้กับนักพัฒนาพลเมือง
เหตุใดธุรกิจต่างๆ จึงควรใช้แพลตฟอร์มแบบ low-code
หากความสามารถในการปรับแต่ง ความสามารถในการปรับขนาด ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลิตมีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณ แพลตฟอร์มแบบ low-code สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและหลีกเลี่ยงความท้าทายมากมายของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ ได้ การรักษาขั้นตอนการพัฒนาแอปไว้ภายในองค์กรสามารถช่วยประหยัดเงิน ปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน
1“Software Developers, Quality Assurance Analysts, and Testers,” คู่มือแนวโน้มเกี่ยวกับอาชีพของสำนักสถิติแรงงานสหรัฐอเมริกา, 9 กันยายน, 2022